วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2561

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 46


หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546
1.1 แนวคิดและหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 พัฒนาขึ้นมาโดยอาศัยแนวคิดต่อไปนี้
1.1.1 แนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก เด็กแต่ละคนจะเติบโตและมีลักษณะพัฒนาการแตกต่างกันไปตามวัย โดยที่พัฒนาการเด็กปฐมวัยบ่งบอกถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวเด็ก อย่างต่อเนื่องในแต่ละวัย เริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงอายุ 5 ปี
1.1.2 แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้  การจัดทำหลักสูตรจะยึดแนวคิดที่จะให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ด้วยตัวเด็กเอง ในสภาพแวดล้อมที่เป็นอิสระ เอื้อต่อการเรียนรู้ และจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับ ระดับพัฒนาการของผู้เรียนแต่ละคน
1.1.3 แนวคิดเกี่ยวกับการเล่นของเด็ก  การเล่นถือเป็นกิจกรรมที่สำคัญในชีวิตเด็กทุกคนเด็กจะรู้สึกสนุก สนาน เพลิดเพลิน ได้สังเกต มีโอกาสทำการทดลอง สร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหาและค้นพบด้วยตนเอง การเล่นจะมีอิทธิพลและมีผลดีต่อการเจริญเติบ โต ช่วยพัฒนาร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา
1.1.4 แนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมและสังคม บริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่หรือแวดล้อมตัวเด็ก ทำให้เด็ก แต่ละคนแตกต่างกันไป หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยฉบับนี้ถือว่าผู้สอนจำเป็นต้องเข้าใจและยอมรับว่า วัฒนธรรมและสังคมที่แวดล้อมตัวเด็กมีอิทธิพลต่อ การเรียนรู้ การพัฒนา ศักยภาพ และพัฒนาการของเด็กแต่ละคน

1.2 ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย
1.2.1 หลักการ  เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการ ตลอดจนการเรียนรู้อย่างเหมาะสมด้วยปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กกับพ่อแม่ เด็กกับผู้เลี้ยงดู หรือบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาเด็ก ปฐมวัย เพื่อให้เด็กมีโอกาสพัฒนาตนเองตามลำดับขั้นของพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุล และเต็มตามศักยภาพโดยกำหนดหลักการ ดังนี้
1.    ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัย ทุก
ประเภท
2.    ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โดคำนึงถึง
ความแตกต่างระหว่างบุคคลและวิถีชีวิตของเด็กตามบริบทของชุมชน สังคม และวัฒนธรรมไทย
3.       พัฒนาเด็กโดยองค์รวมผ่านการเล่นและกิจกรรที่เหมาะสมกับวัย
4.    จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมี
คุณภาพและมีความสุข
1.2.2 จุดมุ่งหมาย  หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี มุ่งให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา ที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคล จึงกำหนด จุดหมายซึ่งถือเป็นมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ดังนี้
1.       ร่างการเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี
2.       กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง ใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน
3.       สุขภาพจิตดี และมีความสุข
4.       มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม
5.       ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว และรักการออกกำลังกาย
6.       ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย
7.       รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและความเป็นไทย
8.       อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
9.       ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
10.   มีความสามารถในการคิดและการแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย
11.   มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
12.   มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และมีทักษะในการแสวงหาความรู้

1.3 หลักการจัดการศึกษาปฐมวัย
การจัดทำหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยฉบับนี้ ยึดหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย ดังนี้
1.3.1 การสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม เป็นหลักสูตรที่ให้โอกาสทั้งเด็กปกติ เด็กด้อยโอกาส และเด็กพิเศษได้พัฒนา รวมทั้งยอมรับในวัฒนธรรมและภาษาของเด็ก พัฒนาเด็กให้รู้สึกเป็นสุขในปัจจุบัน มิใช่เพียงเพื่อเตรียมเด็กสำหรับอนาคตข้างหน้าเท่านั้น
1.3.2 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้จะต้องอยู่ในสภาพที่สนองความต้องการ
1.3.3 การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก ผู้สอนต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้บอกความรู้หรือสั่งให้เด็กทำมาเป็นผู้อำนวย ความสะดวก ในการจัดสภาพแวดล้อมประสบการณ์และกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการและการ เรียนรู้ของเด็กที่ผู้สอนและเด็กมีส่วนที่จะริเริ่มทั้ง 2 ฝ่าย โดยผู้สอนจะเป็น ผู้สนับสนุน ชี้แนะ และเรียนรู้ร่วมกับเด็ก ส่วนเด็กเป็นผู้ลงมือกระทำ เรียนรู้ และค้นพบด้วยตนเอง
1.3.4 การบูรณาการการเรียนรู้  หนึ่งกิจกรรมเด็กสามารถเรียนรู้ได้หลายทักษะและหลายประสบการณ์สำคัญ
1.3.5 การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก  การประเมินเด็กระดับปฐมวัยยึดวิธี การสังเกตเป็นส่วนใหญ่ ผู้สอนจะต้อง สังเกตและประเมินทั้งการสอนของตนและพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กว่าได้บรรลุ ตามจุดประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่
1.3.6 ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับครอบครัวของเด็ก เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เด็กเจริญเติบโตขึ้นมา ผู้สอน พ่อแม่ และผู้ปกครอง ของเด็กจะต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูล ทำความเข้าใจพัฒนาการและการเรียนรู้ของ เด็ก ต้องยอมรับและร่วมมือกันรับผิดชอบ หรือถือเป็นหุ้นส่วนที่จะต้องช่วย กันพัฒนาเด็กให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการร่วมกัน
สาระการเรียนรู้และประสบการณ์สำคัญ
ผู้สอนหรือผู้จัดการศึกษา อาจนำสาระการเรียนรู้มาจัดในลักษณะหน่วยการสอนแบบบูรณาการหรือเลือกใช้วิธี การที่สอดคล้องกับปรัชญาและหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย สาระการเรียนรู้กำหนดเป็น 2 ส่วนดังนี้
1.       ประสบการณ์สำคัญ
ประสบการณ์สำคัญเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาเด็กทางด้าน
ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาช่วยให้เด็กเกิดทักษะที่สำคัญ สำหรับการสร้างองค์ความรู้ โดยให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ สิ่งของบุคคลต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวรวมทั้งปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรม ไปพร้อมกันด้วย ประสบการณ์สำคัญมี ดังนี้
ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย ได้แก่
(1) การทรงตัวและการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อใหญ่
(1.1) การเคลื่อนไหวอยู่กับที่และการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่
(1.2) การเคลื่อนไหวพร้อมวัสดุอุปกรณ์
(1.3) การเล่นเครื่องเล่นสนาม
(2) การประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อเล็ก
(2.1) การเล่นเครื่องเล่นสัมผัส
(2.2) การเขียนภาพและการเล่นกับสี
(2.3) การปั้นและประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ด้วยดินเหนียว ดินน้ำมัน แท่งไม้ เศษวัสดุ ฯลฯ
(3) การรักษาสุขภาพ
(3.1) การปฏิบัติตนตามสุขอนามัย
(4) การรักษาความปลอดภัย
(4.1) การรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นในกิจวัตรประจำวัน

ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ ได้แก่
(1) ดนตรี
(1.1) การแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบเสียงดนตรี
(1.2) การเล่นเครื่องดนตรีง่าย ๆ เช่น เครื่องดนตรีประเภทเคาะ ประเภทตี ฯลฯ
(1.3) การร้องเพลง
(2) สุนทรียภาพ
(2.1) การชื่นชมและสร้างสรรค์สิ่งสวยงาม
(2.2) การแสดงออกอย่างสนุกสนานกับเรื่องตลก ขำขันและเรื่องราว/เหตุการณ์ที่สนุกสนานต่าง ๆ
(3) การเล่น
(3.1) การเล่นอิสระ
(3.2) การเล่นรายบุคคล การเล่นเป็นกลุ่ม
(3.3) การเล่นในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
(4) คุณธรรม จริยธรรม
(4.1) การปฏิบัติตนตามหลักศาสนาที่นับถือ
 ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม ได้แก่ การเรียนรู้ทางสังคม
(1) การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของตนเอง
(2) การเล่นและการทำงานร่วมกับผู้อื่น
(3) การวางแผน ตัดสินใจเลือก และลงมือปฏิบัติ
(4) การมีโอกาสได้รับรู้ความรู้สึก ความสนใจและความต้องการของตนเองและผู้อื่น
(5) การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
(6) การแก้ปัญหาในการเล่น
(7) การปฏิบัติตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่อาศัยอยู่และความเป็นไทย
ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา ได้แก่
(1) การคิด
(1.1) การรู้จักสิ่งต่าง ๆ ฟัง สัมผัส ชิมรส และดมกลิ่น
(1.2) การเลียนแบบการกระทำและเสียงต่าง ๆ
(1.3) การเชื่อมโยงภาพ ภาพถ่าย และรูปแบบต่าง ๆ กับสิ่งของหรือสถานที่จริง
(1.4) การรับรู้และแสดงความรู้สึกผ่านสื่อวัสดุ ของเล่น และผลงาน
(1.5) การแสดงความคิดสร้างสรรค์ผ่านสื่อ วัสดุ ต่าง ๆ
(2) การใช้ภาษา
(2.1) การแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด
(2.2) การพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเองหรือเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง
(2.3) การอธิบายเกี่ยวกับสิ่งของ เหตุการณ์ และความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ
(2.4) การฟังเรื่องราว นิทาน คำคล้องจอง คำกลอน
(2.5) การเขียนในหลายรูปแบบผ่านประสบการณ์ที่สื่อความหมายต่อเด็กเขียน ภาพ เขียนขีดเขี่ย เขียนคล้ายตัวอักษร เขียนเหมือน สัญลักษณ์ เขียนชื่อตนเอง
(2.6) การอ่านในหลายรูปแบบ ผ่านประสบการณ์ที่สื่อความหมายต่อเด็กอ่านภาพหรือสัญลักษณ์จากหนังสือนิทาน/เรื่องราวที่สนใจ
(3) การสังเกต การจำแนก และการเปรียบเทียบ
(3.1) การสำรวจและอธิบายความเหมือน ความต่างของสิ่งของต่าง ๆ
(3.2) การจับคู่ การจำแนก และการจัดกลุ่ม
(3.3) การเปรียบเทียบ เช่น ยาว/สั้น ขรุขระ/เรียบ ฯลฯ
(3.4) การเรียงลำดับสิ่งต่าง ๆ
(3.5) การคาดคะเนสิ่งต่าง ๆ
(3.6) การตั้งสมมติฐาน
(3.7) การทดลองสิ่งต่าง ๆ
(3.8) การสืบค้นข้อมูล
(3.9) การใช้หรืออธิบายสิ่งต่าง ๆ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย
(4) จำนวน
(4.1) การเปรียบเทียบจำนวนมากว่า น้อยกว่า เท่ากัน
(4.2) การนับสิ่งต่าง ๆ
(4.3) การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
(4.4) การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของจำนวนหรือปริมาณ
(5) มิติสัมพันธ์ (พื้นที่/ระยะ)
(5.1) การต่อเข้าด้วยกัน การแยกออก การบรรจุและการเทออก
(5.2) การสังเกตสิ่งต่าง ๆ และสถานที่จากมุมมองที่ต่าง ๆ กัน
(5.3) การอธิบายในเรื่องตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ ที่ส้มพันธ์กัน
(5.4) การอธิบายในเรื่องทิศทางการเคลื่อนที่ของคนและสิ่งต่างๆ
(5.6) การสื่อความหมายของมิติสัมพันธ์ด้วยภาพวาด ภาพถ่ายและรูปภาพ
(6) เวลา
(6.1) การเริ่มต้นและการหยุดการกระทำโดยสัญญาณ
(6.2) การเปรียบเทียบเวลา เช่น ตอนเช้า ตอนเย็น เมื่อวานนี้ พรุ่งนี้ ฯลฯ
(6.3) การเรียงลำดับเหตุการณ์ต่าง ๆ
(6.4) การสังเกตความเปลี่ยนแปลงของฤดู

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น