วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2561

กิจกรรมท้ายบท


กิจกรรมท้ายบทที่ 1

1. ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจาก สุเทพ อ่วมเจริญ การพัฒนาหลักสูตร : ทฤษฎีและการปฏิบัติ "การพัฒนาหลักสูตร : นิยาม ความหมาย"


ตอบ
 คำว่า “หลักสูตร” ภาษาอังกฤษ เขียนว่า Curriculum มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า“currere” หมายถึง “race – course” หรือเส้นทางที่ใช้วิ่งแข่งขัน เมื่อนำมาใช้ในบริบทของการศึกษา จึงหมายถึง running sequence of courses or learning experience เปรียบเสมือน เส้นทางที่ผู้เรียน จะต้องเรียนรู้และฝึกประสบการณ์ นำไปสู่เป้าหมายความสำเร็จ (วิชัย วงษ์ใหญ่,2554:105)
ความหมายของหลักสูตร” ตาม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2546 คือ ประมวลวิชาและกิจกรรมต่างๆ ที่กำหนดไว้ในการศึกษา เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง

ความหมายของหลักสูตรของนักวิชาการต่างประเทศ
ความหมายของหลักสูตร ตามความเชื่อทางการศึกษาและความเข้าใจที่แตกต่างกัน ในส่วนนักการศึกษาและนักพัฒนาหลักสูตรของต่างประเทศ ได้ให้ความหมายและคำจำกัดความของหลักสูตรไว้ โดยสรุปดังนี้ (สุเทพ อ่วมเจริญ, 2555 : 2-3)
บอบบิต (Bobbit, F. 1918) อธิบายคำว่า หลักสูตร หมายถึง วิถีทางที่เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์ที่เด็กแต่ละคน จะต้องก้าวผ่าน เพื่อเติบโตขึ้น นอกจากโรงเรียนแล้ว ประสบการณ์นอกโรงเรียนก็นับเป็นส่วนหนึ่งเช่นกัน
เซเลอร์ อเล็กซานเดอร์ และเลวิส (Salor, Alexzander and Lewis 1981) ได้ให้คำนิยาม หลักสูตรไว้ว่า หลักสูตร คือ การจัดเตรียมมวลประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดสัมฤทธิ์ผล ความมุ่งหมายทางการศึกษาอย่างกว้างๆ และจุดมุ่งหมายเฉพาะโรงเรียน
ปริ้น (Print.M., 1993:9) ได้ศึกษานิยามของนักพัฒนาหลักสูตรแล้ว สรุปว่า หลักสูตรจะกล่าวถึง
                · แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
                ·  สิ่งที่เสนอในสถาบันการศึกษา/โปรแกรมการศึกษา
                ·  การนำเสนอในรูปเอกสาร
                ·  รวมถึงผลของประสบการณ์จากการนำเอกสารต่างๆไปใช้
สมิธ (Smith,M.K. 1996) “ได้ให้แนวคิดในการนิยามหลักสูตร” ตามทฤษฎีและการปฏิบัติหลักสูตร 4 ทิศทาง ดังนี้     
      1. หลักสูตรเป็นองค์ความรู้ที่จะส่งผ่านให้ผู้เรียน
      2. หลักสูตรเป็นความพยายามที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์
      3. หลักสูตรเป็นกระบวนการ
      4. หลักสูตรเป็น Praxis หมายถึง การปฏิบัติของมนุษย์และความเข้าใจในการปฏิบัตินั้น



โอลิว่า (Oliva, 1997) สรุปไว้ว่าหลักสูตร หมายถึง :
                        ·  สิ่งที่นำมาสอนในโรงเรียน
                        ·  ชุดของวิชา
                        ·  เนื้อหาวิชา
                        ·  โปรแกรมการเรียนของนักเรียน
                        ·  ชุดของวัสดุ
                        ·  ลำดับของรายวิชา
                        ·  ชุดของจุดประสงค์การปฏิบัติ
                        ·  รายวิชาที่เรียน
                        · เป็นทุกสิ่งที่ช่วยให้โรงเรียนก้าวหน้าไป รวมถึงกิจกรรมเสริมในชั้นเรียน การแนะแนว และ
                        สัมพันธภาพระหว่างบุคคล
                        ·  ทุกๆสิ่งที่เป็นแผนงานของบุคลากรในโรงเรียน
                        ·  เป็นอนุกรมของประสบการณ์โดยผู้เรียนในโรงเรียน
                        ·  ประสบการณ์ของผู้เรียนแต่ละคนที่เป็นผลจากการศึกษาเล่าเรียน
นอกจากนี้ ผศ. ดร.มาเรียม นิลพันธุ์ ยังได้รวบรวมแนวคิดของนักการศึกษา และนักพัฒนาหลักสูตรของต่างประเทศ เกี่ยวกับความหมายของหลักสูตร นอกจากที่กล่าวมาแล้ว (มาเรียม นิลพันธุ์, 2543 : 6) ดังนี้
คาสเวลและแคมเบล (Caswell and Cambell, 1935 : 66) ได้ให้คำจำกัดความว่า หลักสูตรเป็นสิ่งที่ประกอบด้วยประสบการณ์ทั้งมวลของเด็ก ภายใต้การแนะแนวของครู
ไทเลอร์ (Tyler, 1949 : 79) ได้สรุปว่าหลักสูตร เป็นสิ่งที่เด็กจะต้องเรียนรู้ทั้งหมด โดยมีโรงเรียนเป็นผู้วางแผนและกำกับเพื่อให้บรรลุถึงจุดหมายของการศึกษา
ทาบา (Taba, 1962 : 11) ให้คำสรุปเกี่ยวกับหลักสูตรอย่างสั้น ๆ ว่า หลักสูตรเป็นแผนการเกี่ยวกับการเรียนรู้
กู๊ด (Good, 1973 : 157) ได้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้ 3 ประการ ดังนี้ คือ
1.หลักสูตร หมายถึง เนื้อหาวิชาที่จัดไว้เป็นระบบให้ผู้เรียนได้ศึกษา เพื่อสำเร็จหรือรับประกาศนียบัตรในสาขาวิชาหนึ่ง
2.หลักสูตร หมายถึง เค้าโครงสร้างทั่วไปของเนื้อหาหรือสิ่งเฉพาะที่จะต้องสอน ซึ่งโรงเรียนจัดให้แก่เด็กเพื่อให้สำเร็จการศึกษาและสามารถเข้าศึกษาต่อในทางอาชีพต่อไป
3.หลักสูตร หมายถึง กลุ่มวิชาและการจัดประสบการณ์ที่กำหนดไว้ให้ผู้เรียนได้เรียนภายใต้การแนะนำของโรงเรียนและสถานศึกษา
โอลิวา (Oliva, 1992 : 8-9) ได้ให้นิยามความหมายของหลักสูตรโดยแบ่งเป็นการให้นิยามโดยยึดจุดประสงค์ บริบทหรือสภาพแวดล้อม และวิธีดำเนินการหรือยุทธศาสตร์ ดังนี้
1. การให้นิยามโดยยึดจุดประสงค์ (Purpose) หลักสูตรจึงมีภาระหน้าที่ที่จะทำให้ผู้เรียนควรจะเป็นอย่างไร หรือมีลักษณะอย่างไรหลักสูตรในแนวคิดนี้จึงมีความหมายในลักษณะที่เป็นวิธีการที่นำไปสู่ความสำเร็จตามจุดประสงค์หรือจุดมุ่งหมายนั้น ๆ เช่น หลักสูตร คือ การถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรม หลักสูตร คือ การพัฒนาทักษะการคิดผู้เรียน เป็นต้น
2. การให้นิยามโดยยึดบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Contexts) นิยามของหลักสูตร ในลักษณะนี้จึงเป็นการอธิบายถึงลักษณะทั่วไปของหลักสูตรซึ่งแล้วแต่ว่าเนื้อหาสาระของหลักสูตรนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร เช่น หลักสูตรที่ยึดเนื้อหาวิชา หรือหลักสูตรที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือหลักสูตรที่เน้นการปฏิรูปสังคม เป็นต้น
3. การให้นิยามโดยยึดวิธีดำเนินการการหรือยุทธศาสตร์ (Strategies) เป็นการนิยามในเชิงวิธีดำเนินการที่เป็นกระบวนการ ยุทธศาสตร์หรือเทคนิควิธีการในการจัดการเรียนการสอน เช่น หลักสูตร คือ กระบวนการแก้ปัญหา หลักสูตร คือ การอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม การทำงานกลุ่ม หลักสูตร คือ การเรียนรู้เป็นรายบุคคล หลักสูตร คือ โครงการหรือแผนการจัดการเรียนการสอน เป็นต้น
โอลิวา ได้สรุปความหมายของหลักสูตรไว้ว่า หลักสูตร คือ แผนงานหรือโครงการที่จัดประสบการณ์ทั้งหมดให้แก่ผู้เรียน ภายใต้การดำเนินงานของโรงเรียน และในทางปฏิบัติหลักสูตรประกอบด้วยจำนวนของแผนการต่าง ๆ ที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร และมีขอบเขตกว้างหลากหลาย เป็นแนวทางของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ต้องการ ดังนั้น หลักสูตรอาจเป็นหน่วย (Unit) เป็นรายวิชา (course) หรือเป็นรายวิชาย่อยต่าง ๆ (sequence of courses) แผนงานหรือโครงการทางการศึกษาดังกล่าวนี้อาจจัดขึ้นได้ทั้งในและนอกชั้นเรียนหรือโรงเรียนก็ได้

ความเห็นของนักวิชาการไทย
นักวิชาการและนักการศึกษาในประเทศไทย ได้ให้คำจำกัดความของหลักสูตรไว้ ดังนี้
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2521 : 12) ให้ความหมายว่า หลักสูตร คือ ข้อกำหนดที่ประกอบด้วยหลักการ จุดหมาย โครงสร้าง แนวทาง วิธีการ เนื้อหา วัสดุอุปกรณ์ และการจัดการเรียนการสอน
ธวัชชัย ชัยจิรฉายากุล (2529 : 10-11) กล่าวว่าหลักสูตร หมายถึง กิจกรรมหรือประสบการณ์ทั้งหลายที่โรงเรียนจัดให้กับผู้เรียน
สวัสดิ์ ประทุมราช และคณะ (2521 : 1) ให้ความหมายเกี่ยวกับหลักสูตรว่า เป็นแผนหรือแนวทางของการจัดการศึกษาทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน ที่ชี้แนะให้ผู้บริหารการศึกษา ครู อาจารย์ ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ได้พยายามจัดสรรประสบการณ์ทั้งมวล ตามที่หลักสูตรกำหนดให้แก่ผู้เรียนหรือเยาวชนในชาติได้พัฒนาตนเอง ทั้งในด้านความรู้ ทักษะและคุณสมบัติที่พึงประสงค์ตามจุดหมายของการจัดการศึกษาชาตินั่นเอง
มาเรียม นิลพันธุ์ (2543 : 6) หลักสูตร หมายถึง เอกสารข้อกำหนดเกี่ยวกับมวลประสบการณ์ เพื่อให้ผู้เรียนมีพัฒนาไปในแนวทางที่ต้องการ
ศักดิ์ศรี ปาณะกุล (2543 : 2) หลักสูตร หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เขียนขึ้นอย่างเป็นทางการ หรือผ่านการยกร่างอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วยรายละเอียดของหลักการ จุดหมาย โครงสร้างเนื้อหา กิจกรรม แนวทางหรือวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อ การวัดผลและประเมินผล รวมทั้งข้อกำหนดเกี่ยวกับเวลาของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
นิรมล ศตวุฒิ (2543 : 87) หลักสูตร หมายถึง ประสบการณ์การเรียนรู้ทั้งหมดที่ผู้รับผิดชอบจัดการศึกษาจัดให้แก่ผู้เรียน ซึ่งประสบการณ์การเรียนรู้เหล่านี้ ครอบคลุมตั้งแต่ประสบการณ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง อันได้แก่ประสบการณ์เรียนรู้ที่กำหนดไว้ในจุดหมายของหลักสูตร ประสบการณ์ในขั้นดำเนินการ อันได้แก่ ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับจากเนื้อหาวิชา และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนประสบการณ์การเรียนรู้ที่เป็นผลของการจัดการเรียนการสอนอันได้แก่ประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับไปแล้ว และจะนำไปใช้ต่อไปโดยสรุปผลที่ได้จากแบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการประเมินหลักสูตร
กาญจนา คุณารักษ์ (2553 : 38) หลักสูตรคือ โครงการหรือแผน หรือข้อกำหนด อันประกอบด้วยหลักการ จุดหมาย โครงสร้าง กิจกรรมและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆในการจัดการเรียนการสอนที่จะพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ โดยส่งเสริมให้เอกัตบุคคลไปสู่ศักยภาพสูงสุดของตนเอง รู้จักตนเอง มีชีวิตอยู่ในโรงเรียน ในสังคม และในโลกอย่างมีคุณภาพและอย่างมีความสุข
วิชัย วงษ์ใหญ่ (2554:6) วิเคราะห์ความหมายของหลักสูตรซึ่งโอลิวา (Oliva, 2009:3) ให้ไว้ พบว่าความหมายที่แคบของหลักสูตรคือ วิชาที่สอน ส่วนความหมายที่กว้างของหลักสูตรคือ มวลประสบการณ์ทั้งหลายที่จัดให้กับผู้เรียน ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ซึ่งเป็นทั้งทางตรงและทางอ้อม
ธำรง บัวศรี (2542 : 7) ได้กล่าวถึงความหมายของหลักสูตร คือ แผนซึ่งได้ออกแบบจัดทำขึ้นเพื่อแสดงจุดหมาย การจัดเนื้อหากิจกรรม และประมวลประสบการณ์ ในแต่ละโปรแกรมการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนมีพัฒนาการในด้านต่างๆ ตามจุดหมายที่กำหนดไว้
สุเทพ อ่วมเจริญ (2555:4) สรุปว่าหลักสูตร หมายถึง ศาสตร์ที่เรียนรู้เพื่อนำไปกำหนดวิถีทางที่นำไปสู่การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเพื่อการเรียนรู้

สรุปความหมาย “หลักสูตร
จากความหมายข้างต้น พอจะสรุปได้ว่า
หลักสูตร คือ โครงสร้างของเนื้อหาวิชา หรือประสบการณ์ต่าง ๆ หรือศาสตร์ต่างๆ ที่กำหนดให้ผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้ทั้งภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ รวมทั้งการมีส่วนร่วมกิจกรรมเสริมสร้างประสบการณ์

1.2 วิพากษ์/นิยาม ความหมายของหลักสูตร
การให้ความหมาย “หลักสูตรของนักการศึกษาต่างประเทศ และนักการศึกษาไทยแตกต่างกันมากมาย เนื่องจากคำว่าหลักสูตรมีความหมายกว้าง และไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะรายวิชาที่อยู่แต่ในห้องเรียนเท่านั้น แต่มีความหมายที่หลากหลาย ทั้งศาสตร์และศิลป์ที่อยู่นอกห้องเรียน บ้างก็ว่าคือข้อกำหนด บ้างก็ว่าคือแผนงาน บ้างก็ว่าคือประสบการณ์ การให้คำนิยามดังกล่าวอยู่ที่ความเชื่อ ความเข้าใจ และมวลประสบการณ์เดิมของคนนั้นๆ นอกจากนั้นก็ให้นิยามตามวิธีดำเนินการ กระบวนการ ยุทธศาสตร์ หรือแม้แต่เทคนิค วิธีจัดการเรียนการสอน

การพัฒนาหลักสูตร:ทฤษฎีและการปฏิบัติ เป็นตำราที่มุ่งเน้นกระบวนการที่ช่วยในการกำหนดจุดหมายของการศึกษา พร้อมทั้งแนวทางในการจัดกิจกรรมการศึกษา ผู้เขียนได้เรียบเรียงตามกระบวนการพัฒนาหลักสูตร การวางแผนหลักสูตร การออกแบบหลักสูตร การจัดระบบหลักสูตรและการประเมินหลักสูตรโดยนำแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรและปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรมารวบรวมเป็นความรู้ในวิชาการพัฒนาหลักสูตรเพื่อเป็นแนวทางนำไปปฏิบัติได้ภายในตำราได้แยกหมวดหมู่ไว้ จำนวน5บท ประกอบด้วย การสอนด้วยศาสตร์และศิลป์ อีกทั้งกลยุทธ์ วิธีการต่างๆ เช่น กลยุทธ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ การประเมินความรู้เพื่อพัฒนาวิชาชีพ จวบจนขั้นตอนการประเมินหลักสูตร(curriculum evaluation) ให้ทราบถึงการนิยามการประเมินหลักสูตร แนวคิดการประเมิน ประเมินความก้าวหน้า ประเมินผลสรุป ประเมินก่อน ระหว่างและหลังการนำหลักสูตรไปใช้เพื่อการพัฒนาตน  ผู้เขียนอกจากจะรวบรวมหลักการ แนวคิดบทที่การพัฒนาหลักสูตร  นิยาม  แบบจำลองและทฤษฎีหลักสูตรบทที่การวางแผนหลักสูตรบทที่การออกแบบหลักสูตรบทที่การจัดระบบหลักสูตรบทที่การประเมินหลักสูตร ซึ่งในแต่ละบทนั้นมีการยกวิธี  การขั้นตอน  แนวคิดและแบบจำลองในการพัฒนาหลักสูตรของนักทฤษฎีสำคัญทางการศึกษาไว้ด้วย อาทิเช่น ไทเลอร์  ทาบา  เซเลอร์ อเล็กซานเดอร์และเลวีส โอลิวา หรือนักทฤษฎีทางการศึกษาของไทยอย่างวิชัย วงษ์ใหญ่ไว้อีกด้วย  มีเรื่องการวางแผนพัฒนาและแนวคิดในการวางแผนหลักสูตร เรื่องหลักการ  การกำหนดคุณลักษณะและแนวคิดในการออกแบบหลักสูตรต่างๆ รวมถึงแนวคิดในการจัดระบบ การนำหลักสูตรใช้  หลักการทางจิตวิทยาสำหรับการเรียนรู้และหลักการส่งเสริมความเป็นเลิศในการเรียนรู้และ แบบจำลองทฤษฎีของนักการศึกษาที่สำคัญระดับโลกแล้ว ผู้เขียนยังสร้างรูปแบบและหลักการอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาอีกด้วยทั้งนี้ขอยกตัวอย่างขั้นตอนรวม  วิธีการและการบรรยายความหมายของกระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิด su model โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุเทพ อ่วมเจริญ
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิด su model
กระบวนการพัฒนาหลักสูตร(สามเหลี่ยมใหญ่)จะประกอบด้วยขั้นตอนในการจัดทำหลักสูตร(สามเหลี่ยมเล็กๆ4ภาพ) โดยประกอบด้วย4ขั้นตอนดังนี้ สามเหลี่ยมแรกเป็นการวางแผนหลักสูตร(Curriculum Planing) อาศัยแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์คำถามที่หนึ่งคือ มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา  สามเหลี่ยมรูปที่สอง เป็นการออกแบบ(Curriculum Design) ซึ่งจะนำจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร มาจัดทำกรอบการปฏิบัติ สามเหลี่ยมรูปที่สาม เป็นการจัดการหลักสูตร(Curriculum Organize)ซึ่งจะสังเกตเห็นว่ารูปสามเหลี่ยมนี้กลับหัวคล้ายเงาสะท้อนของสามเหลี่ยมรูปแรก ในทางปฏิบัติการจัดการหลักสูตรต้องพิจารณาว่าเป็นไปตามการวางแผนหรือไม่ สอดคล้องกับคำถามที่สามของไทเลอร์ คือจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ สามเหลี่ยมรูปที่สี่ การประเมิน(Curriculum Evaluation) เป็นการประเมินทั้งหลักสูตรและผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร สอดคล้องกับคำถามที่สี่ของไทเลอร์ คือ ประเมินประสิทธิ์ผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร
การสร้างแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิด
SU Model

SU Model คือ แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งมีลำดับขั้นในการสร้างแบบจำลอง ดังนี้
เริ่มจากการเขียนรูปวงกลม มีความหมายดั่ง จักรวาลแห่งการเรียนรู้ เรียกง่ายๆว่าโลกแห่งการศึกษาและเขียนรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ลงบนเส้นรอบวงของวงกลม มีความหมายแทน กระบวนการพัมนาหลักสูตร โดยให้มุมบนสุดของสามเหลี่ยมแสดงจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้น ความรู้(Knowledge) มุมล่างด้านซ้ายมือแสดงจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้น ผู้เรียน(Learner) และมุมล่างด้านขวามือ แสดงจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้นสังคม(Society)
ในพื้นที่วงกลมยังระบุพื้นฐาน3ด้าน ประกอบด้วย ปรัชญา จิตวิทยาและสังคม ทั้งนี้ผู้เขียนได้นำแนวคิดกระบวนการพัฒนาหลักสูตรมากำหนดชื่อสามเหลี่ยมทั้งสี่รูปให้เป็นไปตามกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ดังนี้
    1) การวางแผนหลักสูตร(Curriculum planing)
    2) การออกแบบหลักสูตร (Curriculum Design)
    3) การจัดดการหลักสูตร (Curriculum Organize)
   4) การประเมินหลักสูตร (Curriculum Evaluation)
กล่าวโดยสรุป หนังสือการพัฒนาหลักสูตร:ทฤษฎีและการปฏิบัติ เป็นหนังสือที่อัดแน่นด้วยสารประโยชน์ทางการศึกษา อันเป็นผลดีต่อผู้สนใจในการสืบค้นข้อมูลและความเข้าใจในรูปแบบจำลอง อีกทั้ง ยังเป็นประโยชน์ต่อการออกแบบหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร จวบจนการสรุปและประเมินผล อันเป็นผลพวงที่ดีต่อความก้าวหน้าของวงการการศึกษาของไทย

2. อุปมาอุปมัย : เมื่อการศึกษาเปรียบได้กับเครื่องมือการพัฒนามนุษย์ หลักสูตรเปรียบได้กับสิ่งใด

ตอบ
หลักสูตรเปรียบเสมือนสายน้ำ น้ำเปรียบเสมือนความรู้ สายน้ำมีการเคลื่อนตัวตลอดเวลา สายน้ำแยกย่อยเป็นแม่น้ำหลายสาย สายน้ำแยกย่อยเป็นคูคลองมากมาย สายน้ำคดเคี้ยวเลี้ยวไปตามสภาพภูมิประเทศและเหตุการณ์ สิ่งมีชีวิตที่อยู่ใกล้น้ำก็จะพบว่ามีความเจริญงอกงามดี สภาพพื้นที่ ที่ต่างกันมีความจำเป็นที่ต้องการน้ำต่างกันด้วยเช่นกัน สายน้ำอาจเกิดขึ้นจากรูปแบบทางธรรมชาติ   สายน้ำอาจเกิดขึ้นจากความต้องการของมนุษย์  มนุษย์ขุดคลองเพื่อใช้ทำการเกษตร  มนุษย์รู้จักการทำชลประทาน การสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำ  ไม่ว่าจะการสร้างเขื่อนเพื่อการชลประทานหรืออย่างไร มนุษย์รู้จักการจัดการกับระบบเพื่อให้ระบบจัดการกับตนเองและได้ประโยชน์สูงสุด ระบบในการจัดการนี้จึงเปรียบเสมือนหลักสูตรที่สร้างขึ้นจากความต้องการจำเป็นในเหตุผลต่างๆนานาประการ 
เราอาจเรียกต่างกันว่าสายน้ำ ลำน้ำ คูน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง  ไม่ว่าจะเรียกว่าเป็นสิ่งใดก็ตาม แต่ก็จะประกอบไปด้วยปัจจัยสำคัญก็คือน้ำ  น้ำเป็นสิ่งสำคัญในการใช้ชีวิต หากเปรียบดั่งความรู้ ความรู้ก็เป็นสิ่งสำคัญในการใช้ชีวิต ซึ่งหากปราศจากความรู้ ชีวิตคงไม่สามารถก้าวเดินไปเบื้องหน้าได้อย่างมั่นคง
หลักสูตรเป็นดั่งสายน้ำที่จัดรูปไปตามริ้วขบวนที่ความต้องการทางธรรมชาติเป็นผู้กำหนด สายน้ำแต่ละสายลดเลี้ยวไปในที่ๆต่างกันไปตามแรงสภาวะของธรรมชาติ คล้ายกับการออกแบบหลักสูตรเพื่อเป็นไปตามความต้องการของเป้าประสงค์ อาทิ การเรียนรู้แบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือการเรียนรู้แบบสังคมเป็นศูนย์กลางเป็นต้น  เมื่อธรรมชาติได้กำหนดทิศทางของสายน้ำแล้ว น้ำที่ไหลเรื่อยไปจึงถูกนำไปใช้เพื่อก่อเกิดประโยชน์สูงสุด การนำหลักสูตรไปใช้หรือการที่น้ำถูกนำไปใช้ประโยชน์จึงอยู่ในมิติความหมายเดียวกัน เมื่อถึงขั้นตอนแห่งการประเมินผล ในทางหลักสูตรอาจดูจากผลที่ได้จึงสามารถประเมินค่าในการใช้หลักสูตรนั้นๆออกมาได้  หากแต่การเปรียบประเมินผลถึงสายน้ำแล้วคงไม่พ้น ดอก หรือผลของต้นไม้ในธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย   ต้นไม้แต่ละต้นยังเปรียบเสมือนผู้เรียนแต่ละคน  ต้นที่รับน้ำน้อยอาจมีลำต้นไม่ได้มาตรฐานหรือเกิดลักษณะบกพร่องไป  นอกเสียจากว่าต้นไม้บางประเภทอาจมีความต้องการบางอย่างที่ต่างออกไป แต่อย่างไรก็แล้วแต่คงไม่มีสิ่งใดในโลกที่ไม่ต้องการน้ำ เพียงแต่มากน้อยต่างกันไปตามองค์ประกอบของตนเท่านั้น
บทสรุปของการอุปมาอุปมัย  จากที่กล่าวมาข้างต้นสายน้ำสามารถเปรียบได้ถึงหลักสูตรที่จะนำพาน้ำอันเปรียบเสมือนความรู้ที่ถูกจัดอยู่ในกรอบกำหนดของขอบเขตสิ่งที่ไหลไปอย่างเป็นระบบมีและจุดหมายปลายทาง การออกแบบจะเป็นไปตามความต้องการของสภาพแวดล้อมและความต้องการนั้นๆ
ส่วนการประเมินผลสามารถรับรู้ได้จากผลของพืชและสิ่งมีชีวิตที่ได้ประโยชน์จากน้ำและสายน้ำนี้ หากมีความอุดมสมบูรณ์ดีหรือมีความผิดปกติบางประการอาจตรวจสอบได้จากน้ำที่ให้ประโยชน์หรือตรวจสอบจากดินและสภาพแวดล้อมรวมถึงการปรับปรุงแก้ไขไปตามความถูกต้องเพื่อให้เกิดประโยชน์และเป้าหมายสูงสุดของความเจริญงอกงามนั่นเอง
        สายน้ำ  เปรียบเสมือน  หลักสูตร
        น้ำ  เปรียบเสมือน  ความรู้
        พืชพรรณและสิ่งมีชีวิต  เปรียบเสมือน  ผู้เรียน
        ดอกผลที่ได้    เปรียบเสมือน   ผลที่ได้จากการประเมิน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น